สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. แกะดำ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยแกะดำ
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงแกะขนสีดำ โดยธรรมชาติของแกะ ปกติแล้วแกะจะมีขนสีขาว แต่บางจะมีบางตัวที่เกิดมาแล้วขนสีดำ ซึ่งหายาก และมีน้อยมากๆ จึงเป็นที่มาของสำนวน
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้นๆ หรือคนที่ชอบทำอะไรต่างจากพวกพ้อง คล้ายกับสำนวนไม้นอกกอ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตแกะดำ
- เด็กคนนี้ทำตัวเหมือนแกะดำ ในจำนวนพี่น้อง 4 คนทุกคนตั้งใจเรียนจนสอบเข้าเรียนหมอได้หมด มีแต่เขาที่ไม่สนใจ ทำตัวแปลกแยกไม่เรียนหนังสือ
- นี่สมชาย! เพื่อนๆ ชวนกันไปกินข้าวสังสรรค์ แต่กลับไม่เคยไปด้วย ชอบแยกตัวไปเที่ยวคนเดียว นายนี่มันแกะดำจริงๆ
- อานนท์มันจะทำตัวเป็นแกะดำ เพราะชอบไปมีเรื่องชกต่อยกับนักเรียนต่างสถาบันเสมอๆ จนอาจารย์ต้องเรียนผู้ปกครองมาคุย
- หมู่บ้านนี่เคร่งเรื่องศาสนา ชาวบ้านเขาไปวัดทำบุญในวันพระ แต่ลุงทิศไม่ไป กลับไปตกปลาเสียอย่างนั้น แต่แกชอบไปวัดในวันธรรมดาที่คนไม่ไปกัน นี่แหละแกะดำของหมู่บ้านจริงๆ
- การเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้หมายความว่า ต้องนอกกระแสตลอดเวลา การเป็นตัวของตัวเอง คือ การรู้จักตัวเองดีว่าชอบอะไร อยากเป็นแบบไหน หากคุณมองไม่เหมือนคนอื่น คุณก็กล้าบอก ถึงจะเป็นแกะดำก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ต้องเคารพใในความคิดคนอื่นด้วย