สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงความรู้ต่อให้จะมีมากมายขนาดไหน ก็มิอาจสู้ความชำนาญ ความเป็นมืออาชีพได้ ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนชำนาญ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือสื่อถึงการฝึกตน
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ถึงแม้จะมีความรู้ทางทฤษฎีมากเพียงใด แต่ก็เทียบกับกับการลงมือปฏิบัติจนชำนาญงานไม่ได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
- ช่างซ่อมเครื่องยนต์เก่งๆ ล้วนผ่านการซ่อมครั้งแล้วครั้งเล่า ลองผิดลองถูกจนชำนาญ โดยไม่พึ่งทฤษฏีเลย
- ถึงฉันจะมีวิชาความรู้เกี่ยวกับการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่มันก็เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น สิบรู้ไม่เท่าชำนาญจะไปสู้ช่างที่เขาลงมือปฏิบัติอยู่ทุกวันได้อย่างไร
- ผมเล่นดนตรีมาทั้งชีวิตต่อให้มีความรู้ด้านทฏษฏีมากแค่ไหน ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่สามารถเล่นให้ได้ดีได้เลย ดนตรีเป็นเครื่องมือที่ใช้ทั้งความรู้แล้วความชำนาญพร้อมกัน เพราะอย่างนี้มันเลยยาก
- เมื่อเธอเรียนรู้ทฤษฎีวิธีการเพาะปลูก รู้จักพันธุ์ไม้อย่างถ่องแท้แล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง อย่างที่โบราณว่าสิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
- การมีความรู้มากไม่ได้หมายความว่าเก่ง แต่การกระทำต่างหากที่ส่งผลต่อตัวเรา การกระทำสำคัญกว่าคำพูด สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ