สุภาษิตคำพังเพยผีซ้ำด้ำพลอย ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยผีซ้ำด้ำพลอย

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผีซ้ำด้ำพลอย

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผีซ้ำด้ำพลอย

ที่มาของสำนวน ที่มาของสำนวนนี้น่าจะมาจากแถวๆ อีสาน สังเกตจากคำว่า ด้ำ ที่เป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึงผีบ้านผีเรือน ประมาณว่า เจอปัญหาอยู่แล้ว ผีบ้านผีเรือน (ด้ำ) ยังเอาปัญหาอื่นมาผสมโรงอีก อะไรทำนองนั้น

สำนวนนี้ใช้กันแต่โบราณ วันนี้ก็ยังใช้ เพียงแต่ว่าจะเข้าใจความหมายได้ลึกตื้นแค่ไหน

“กาญจนาคพันธุ์” อธิบายไว้ในหนังสือ “สำนวนไทย” เมื่อถึงคราวเคราะห์ร้ายแล้ว ผีอาจบันดาลให้เกิดโทษขึ้นได้ หรือกำลังเคราะห์ร้าย ผีอาจซ้ำเติมเอาได้

ในทัศนะผู้ใหญ่สมัยโบราณ พูดถึงการถืออาวุธหยอกล้อกัน เช่น จะแทง จะฟัน เป็นการล้อกันธรรมดา ท่านจึงห้ามว่า “เดี๋ยวผีซ้ำด้ำพลอย” คือผีอาจผลักมือคนถืออาวุธ ทำให้อีกฝ่ายถูกอาวุธเข้าจริงๆ ได้

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ถูกซ้ำเดิมเมื่อถึงคราวเคราห์ร้ายหรือพลาดพลั้ง หรือเมื่อมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ก็มีเรื่องราวหรือปัญหาเข้ามาเพิ่มซ้ำเติมให้หนักกว่าเดิมอีก

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยผีซ้ำด้ำพลอย

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผีซ้ำด้ำพลอย

  • สํานวนสุภาษิตนี้ มักจะมีคนเขียนเป็น “ผีซ้ำด้ามพลอย” ซึ่งที่จริงแล้วไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็น “ผีซ้ำด้ำพลอย” มีความหมายว่าเมื่อเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว แต่ก็มีมีเรื่องราวหรือปัญหาเข้ามาเพิ่มซ้ำเติมให้หนักกว่าเดิมอีก
  • มีคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ผีซ้ำด้ำพลอย” เรื่องเก่ายังไม่ทันหมด เรื่องใหม่ก็โผล่ขึ้นมา ทำให้เกิดความรู้สึกสับสน คนเราเวลาเกิดเรื่องอะไรขึ้นมาก็จะกลัวไปต่างๆ นานา
  • สมชายถูกไล่ออกจากงานทำให้เขาขัดสนไม่มีเงิน อยู่มาวันหนึ่งรถยนต์ของเขาก็ถูกขโมย ทำให้ยิ่งลำบากเข้าไปอีก ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ผีซ้ำด้ำพลอย
  • รู้จักความสำคัญของคำ “ด้ำ” ที่อยู่ในสำนวน “ผีซ้ำด้ำพลอย” อีกที ชัดเจนแล้วนะครับ ด้ำ คือผีพ่อแม่ปู่ย่าตายาย… ญาติผู้ใหญ่ คนเราเมื่อเคราะห์หามยามร้าย… ถึงขนาดไร้ญาติขาดมิตร หากยังมีผู้ใหญ่คอยอุปถัมภ์ค้ำจุน… เคราะห์ร้ายก็เบาลง หรือถ้าผู้ใหญ่ยังยิ่งใหญ่ ก็อาจปัดเป่าเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นเคราะห์ดี
  • ผีซ้ำด้ำพลอย! ชาวขอนแก่นช้ำอีก เจอน้ำท่วมหนัก โจรยังงัดบ้าน 4 หลังรวด

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube