สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ท. ทนายหน้าหอ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยทนายหน้าหอ
ที่มาของสำนวนนี้คือ เป็นคำเก่าแก่ความหมายเดิมแบบที่เข้าใจถูกต้องแล้ว เขาเอาไว้รับหน้าแก้ต่าง ในระดับผู้ดี ขุนนางที่เรื่องขัดแย้งสามัญไม่ออกโรงเองให้เสียเวลา และเสียเชิง เขาจึงให้ทนายหน้าหอ หรือ ตัวแทนไปแก้ต่างแทน ไม่ใช่ทนายความตามความเข้าใจสมัยใหม่ ที่เป็นวิชาชีพ ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ มีหลักการในการดำรงตน
ความเข้าใจผิดๆ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแต่เมื่อก่อนในหนังในละครจะมีมาก เวลาเปิดพินัยกรรมท่านเจ้าคุณ ทนายความประจำตระกูล อ่านถึงตอนทรัพย์สินที่ท่านยกให้เป็นของข้าไท ภรรยาเก็บ ภรรยาน้อย หรืออะไรต่อมิอะไรของท่าน ไม่ถูกใจ คุณหญิงจะตวาดเล่นเอาทนายความมือไม้สั่นอ่านผิดอ่านถูก เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว ที่คุณตั้งคำถามมาน่าจะเป็นภาพติดตาจากยุคก่อน
ทนายที่ดีมีมากอยู่ ทนายที่ไม่ดีก็มักมีคนช่างคิดหาสร้อยมาต่อท้ายให้เสื่อมเสีย ดูไม่ดีเป็นปรกติวิสัยของโลก
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา ผู้รับหน้าแทนนาย หรือคนสนิท คนรับใช้ที่รู้ความเป็นไปของนาย มักชอบหน้ารับหน้าแทนนายของตนเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตทนายหน้าหอ
- นายตำรวจใหญ่ เป็นทนายหน้าหอของนายกรัฐมนตรี เป็นแบบนี้ทุกยุคทุกสมัย ไม่มีเปลี่ยนแปลง
- หลังจากที่มีผู้บริโภคออกมาร้องเรียนว่าสินค้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐานการผลิต เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ผู้บริหารต่างๆก็เก็บตัวเงียบ มีแต่ทนายหน้าหอออกโรงมาบอกว่าไม่เป็นความจริงและจะดำเนินการเอาเรื่องกับผู้ที่ทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง
- นายก็แค่ทนายหน้าหอของพ่อฉันเท่านั้นไม่มีอำนาจอะไรมาสั่งฉันได้หรอก
- ส.ว.รสนา อัพสเตตัสเฟซบุ๊กเมื่อวันเสาร์พูดถึงนักวิชาการสีแดงที่ชื่อว่า พิชิต สมบูรณ์ ที่เวลานี้กำลังแก้ต่างเรื่องพลังงานเสมือนเป็นทนายหน้าหอให้กับ ปตท.
- ‘วิษณุ’ สวนเดือดฝ่ายค้านป้ายสี ‘ทนายหน้าหอ’