สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ขิงก็รา ข่าก็แรง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยขิงก็รา ข่าก็แรง
ที่มาของสำนวนคือ เครื่องเทศอย่างขิงก็มีความเผ็ดร้อนเพียงพอ ที่จะต้านทานความฉุน และ ความเผ็ดร้อนอย่างรุนแรงของข่าได้ ทั้งขิง และข่าต่างก็มีรสฉุนรุนแรงด้วยกันทั้งคู่ ถ้านำทั้งขิง และ ข่ามาปรุงอาหาร จะทำให้รสชาติอาหารเผ็ดร้อนรุนแรงมากยิ่งขึ้น คนเราจึงไม่นิยมนำขิงกับข่ามาปรุงใส่อาหารร่วมกัน กล่าวคือรสชาดเผ็ดร้อนของขิงและข่า ซึ่งเผ็ดร้อนจัดจ้านพอๆ กันนั่นเอง
ความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ ต่างคนต่างอารมณ์ร้อนพอกัน ต่างคนต่างไม่ยอมกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ถูกกัน ต่างไม่ยอมลดละกัน ไม่ยอมซึ่งกันและกัน เจอกันทีไรก็ทะเลาะกันอย่างรุนแรง คนสองคนที่มีบุคลิกลักษณะคล้ายๆ กัน มีความเก่งกาจพอๆ กัน มีอารมณ์ร้อนพอๆ กัน คล้ายดั่งสำนวน เกลือจิ้มเกลือ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตขิงก็รา ข่าก็แรง
- ในบ้านในครอบครัว อาจจะมีพี่น้องบางคู่ ที่มีลักษณะ ขิงก็รา ข่าก็แรง พี่ก็ไม่ยอมน้อง น้องก็ไม่ยอมพี่ ทะเลาะกัน เถียงกัน มีปัญหา กัน เป็นที่ปวดหัวของพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ในห้องเรียน ที่ทำงาน หมู่บ้าน ก็เช่นกัน อาจจะมีคนที่มีปัญหากัน ทุกครั้งที่เจอหน้ากัน ไม่มีใครยอมใคร
- คุณยายเล่าให้ฉันฟังว่าสมัยก่อนคุณตากับคุณยายคุยกันไม่ค่อยลงรอย เจอกันทีไรเป็นต้องทะเลาะกัน ยิ่งสมัยก่อนคุณยายห้าวมาก แทบจะต่อยกันเลยทีเดียว คุณตาก็ใช่ย่อย เรียกได้ว่าขิงก็รา ข่าก็แรง แต่สุดท้ายมารักกันแล้วก็มีคุณแม่ของฉัน
- อย่ามีเรื่องกันเลย ขิงก็รา ข่าก็แรง ไม่มีใครยอมใคร เดี๋ยวปัญหาจะยิ่งบานปลายมากขึ้นไปอีก
- สามีภรรยาคู่หนึ่งมีเรื่องที่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เป็นประจำจนชาวบ้านเอือมระอา เนื่องมาจากต่างคนต่างเชื่อความคิดของตน คิดแต่ว่าฉันถูกเธอผิด ไม่มีใครยอมกัน คู่นี้มันขิงก็รา ข่าก็แรงชัดๆ
- ตำรวจกับผู้ชุมนุมทั้งสองฝายต่างไม่ยอม แบบนี้ขิงก็รา ข่าก็แรงชัดๆไม่มีใครยอมมาเจรจากันมีแต่ใช้กำลังในการทำร้ายกัน เป็นอย่างนี้ไม่ดีแน่