สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กินที่ลับไขที่แจ้ง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยกินที่ลับไขที่แจ้ง
ที่มาของสำนวนคือ กระทำการสิ่งใดๆ ในที่ลับที่ไม่มีคนเห็น ประเภทหลบซ่อนทำ หรือแอบกิน เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ จึงไม่ต้องการให้คนอื่นทราบ จึงแอบซ่อนทำ หรือแอบกิน หรือ ที่เราเรียกกันว่ากินในที่ลับ แต่อยากจะคุยโม้โอ้อวด หรือด้วยเหตุใดไม่ทราบ จึงเปิดเผยให้คนอื่นทราบ หรือที่เราเรียกกันว่าไขที่แจ้งนั่นเอง
สรุปความหมายสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ปากสว่าง เก็บความลับไม่เป็น มักเอาเรื่องที่เป็นความลับมาเปิดเผยให้คนอื่นได้รับรู้โดยไม่จำเป็น จนเกิดความเสียหายกับผู้อื่น อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบ กล่าวคือเรื่องที่ทำกันในที่ลับสมควรที่จะรับรู้กันเฉพาะในวงการ หรือเฉพาะสองต่อสองเท่านั้น ไม่สมควรที่จะเผยแพร่ให้สาธารณะทราบ คนที่ได้กิน หรือ ได้กระทำในที่ลับแล้วนำมาเปิดเผย (ส่วนมากจะใช้กับชายหนุ่ม และ หญิงสาวที่แอบได้เสียกัน) สำนวนนี้ยังนิยมใช้เตือนสติชายหนุ่ม หญิงสาว และคนที่พูดมากปากสวว่าง ให้คิดดูให้ดีว่าการกระทำบางอย่างก็ไม่ควรทำ และหากทำไปแล้วก็ควรรู้ตัวไม่ควรเอามาพูด
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกินที่ลับไขที่แจ้ง
- ต้นแอบได้เสียกับแอน พอดื่มสุรากับเพื่อนๆจนมึนเมา ก็นำมาคุยโม้โอ้อวดเพื่อนๆ แบบนี้เรียกว่ากินที่ลับไขที่แจ้งอย่างแท้จริง
- ชายอย่าเป็นที่กินที่ลับไขที่แจ้งเลย มันไม่ดี นายก็เสียหาย กิ๊กนายก็เสียหาย สุดท้ายก็เสียหายด้วยกันทั้งคู่
- นี่ศักดิ์อย่าปากสว่างแบบกินที่ลับไขที่แจ้ง เอาข้อมูลงบการเงินบริษัทไปบอกคนอื่น ไม่เป็นความลับของบริษัท มีจรรยาบรรณในการทำงานหน่อย
- นิดถ้าคุณชอบกินที่ลับไขที่แจ้ง ชีวิตคุณจะไม่มีความสุขอีกเลย เพราะจะมีแต่คนมองคุณด้านลบอยู่ตลอดบอกเลย
- หากชอบที่จะกินที่ลับไขที่แจ้ง ก็ควรจะคิดหน่อยว่าผลที่ตามมามันจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่รับรองเลวร้ายกว่าที่คุณคิดแน่นอน