สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สันดอนขุดง่าย สันดานขุดยาก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสันดอนขุดง่าย สันดานขุดยาก
ที่มาของสำนวน คำว่า สันดอน เป็นคำนาม หมายถึงดินหรือกรวดทรายเป็นต้นซึ่งน้ำพัดเอามารวมกัน ปรากฏนูนยาวอยู่ใต้น้ำ ทำให้สูงเป็นสันขึ้น ส่วนคำว่า สันดาน เป็นคำนาม หมายถึง อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว หากใช้ในภาษาปากมักใช้ไปในทางไม่สู้ดี เมื่อดูคำอธิบายทั้งสองคำแล้ว คงเห็นภาพกันชัดเจนขึ้นว่าที่โบราณเปรียบไว้นั้นเพื่อให้เห็นว่าการขุดลอกนำดินทรายที่มาทับถมอยู่ในน้ำออกไปทำได้ง่ายกว่าจะแก้อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ สิ่งที่คนเราประพฤติปฎิบัติจนเคยชินติดเป็นนิสัยนั้นยากที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสันดอนขุดง่าย สันดานขุดยาก
- ภูเขาแม่น้ำยังเปลี่ยนได้ แต่สันดาน (คนเรา) ยากที่จะขยับ (ยากที่จะเปลี่ยนแปลง) ใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า สันดอนขุดง่าย สันดานขุดยาก
- สันดอนขุดง่าย สันดานขุดยากจริงๆ ขนาดฉันตักเตือนเรื่องการวางตัว การพูดจาในที่สาธารณะบ่อยๆ ก็ยังทำตัวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
- สันดานของเขาเป็นเช่นนี้ อย่าไปถือเลย นี่แหละอย่างโบราณว่าสันดอนขุดง่าย สันดานขุดยากจริงๆ
- ยายแกติดการพนันมาตั้งแต่สาวๆ คงจะเลิกยากแล้วหล่ะ สันดอนขุดง่าย สันดานขุดยาก ปล่อยแกไปตามเวรตามกรรม
- ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน และยังหมายถึง ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย สันดอนมันขุดง่าย แต่สันดานมันขุดยาก