สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ไต่ไม้ลำเดียว
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไต่ไม้ลำเดียว
ที่มาของสำนวน สำนวนนี้ประกอบด้วยคำว่า ไต่ กับ ไม้ลำเดียว ไต่ คืออาการที่เคลื่อนไปหรือคืบคลานไปด้วยความระมัดระวัง.ไม้ลำเดียว ในที่นี้หมายถึงลำต้นของต้นไม้ 1 ต้น หรือ 1 ท่อน
เปรียบกับการใช้ไม้เพียงลำเดียวมาพาดข้ามคู หรือคลองส่งน้ำในสวน คนที่จะเดินผ่านข้ามไปมีโอกาสที่จะพลัดพลาดตกลงไปในคูคลองได้มาก เปรียบเหมมือนการเดินบนสลิงเส้นเดียว
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ กระทำการใดๆ ตามลำพังตัวคนเดียวโดยไม่มีที่พึ่งหรือไม่พึ่งพาผู้อื่น อาจพลั้งพลาดได้
สำนวนนี้สอนคนเอาไว้ว่าการลงมือทำอะไรลำพังเพียงคนดียว โดยไม่ปรึกษาหรือพึ่งพาอาศัยผู้อื่นที่มีความรู้ ประสบการณ์ อวุโสกว่า อาจจะทำให้ผิดพลาดได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตไต่ไม้ลำเดียว
- ประชาชนประเทศไทยไม่อยาก “ไต่ไม้ลำเดียว” จึงได้ทำการแต่งตั้งสมาพันธ์ เข้ามาช่วยในการร่วมปฏิรูปประเทศด้วย
- เพราะเขาเป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองสูง เด็ดเดี่ยว ไม่ฟังใคร เข้าทำนองไต่ไม้ลำเดียวซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
- โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ว่า “ไต่ ตพานพาดไม้ ลำเดียว ไม้ สั่นหวั่นกายเสียว เมื่อเมื้อ ลำ ฦกที่พึ่งเหลียว แลห่อน เห็นเฮย เดียว ดั่งคนบเอื้อ พึ่งผู้พาศนา” หมายความว่า คนที่เดินไปบนสะพานที่พาดด้วยไม้ลำเดียว เมื่อไม้สั่นไหวก็รู้สึกหวาดเสียว ครั้นคิดจะหาที่พึ่งก็ไม่มี
- การลงทุนทำธุรกิจมันมีความเสี่ยงอย่าไต่ไม้ลำเดียว ก่อนจะลงมือทำอะไรลองปรึกษาคนที่เขามีประสบการณ์มาก่อนจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นอาจจะพลาดได้ง่ายๆ
- การที่ผู้มีประสบการณ์สอนเราเรื่องต่างๆ นั้น มีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด เพราะสิ่งที่เขาเจอมาก่อนมันผิดพลาด เขาเลยเตือนเราไม่ให้พลาดอย่างเขา การฟังหูซ้ายทะลุหูขวาก็เหมือนไต่ไม้ลำเดียว สักวันอาจผิดพลาด ในวันนั้นเราอาจจะคิดได้ แต่อาจสายเกินไป