สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
ที่มาของสำนวน กะโหลกในสำนวนนี้คือกระโหลกกะลา การตักน้ำมาใส่แล้วดูเงาตัวเองเป็นการเปรียบเปรยถึงการย้อนมองตัวเองว่าตัวเองเป็นเช่นไร สำนวนนี้ใช้ในกรณีเป็นคำดูถูกคนที่ต้อยต่ำกว่า มักใช้ดูถูกผู้ชายที่มีฐานะต่ำต้อยกว่าที่ไปชอบหญิงที่มีฐานะดีกว่านั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ให้รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัวไว้บ้าง จะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
- ยัยคนนี้ไม่ไหวเลย ทำตัวยะโสลอยหน้าลอยตา ไม่ยอมตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาตัวเองเสียบ้าง
- ภาคินแอบชอบมะนาวลูกสาวเศรษฐีใหญ่ประจำหมู่บ้าน แต่ท่านเศรษฐีมองว่าภาคินเป็นลูกชาวนาฐานะยากจน จึงไม่ยอมให้คบหากับลูกสาวของตน และได้กล่าวเตือนภาคินว่า ให้ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงาตัวเองเสียบ้าง
- เคยได้ยินกันมาแล้ว คำภาษิตของไทย “ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา” ถ้าเอามาใช้เป็นแนวทางยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประเทศไทย ดูจะถูกที่ถูกเวลาเป็นที่สุด
- นิรุจนายควรเจียมตัวบ้างนะว่านายเป็นใครมาจากไหน ลูกสาวฉันเป็นใคร ก่อนจะมาจีบลูกสาวฉัน ก็ควรตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาเสียก่อน
- ผมควรตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา รักผู้หญิงที่ส่งสูง ฐานะสูงกว่ามาก ต้องยอมตัดใจ และพัฒนาตัวเองต่อไป ชีวิตลูกผู้ชายต้องสู้ต่อไป…