สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กล้านักมักบิ่น
ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกล้านักมักบิ่น
ที่มาของสำนวนคือ เปรียบเทียบกับมีดพร้าเหล็กกล้าที่มีความแข็งมากกว่ามีดปกติทั่วไป แต่ทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน แม้มีดพร้าจากเหล็กกร้าจะแข็งแกร่งมากเพียงใด สักวันก็ต้องเสื่อมสลายตามกาลเวลาบิ่นได้สักวัน เมื่อมันฟันเข้ากับสิ่งที่แข็งกว่าหรือเจอกับปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นสนิมกินได้ เช่นกัน
สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 “กล้านักมักบิ่น” หมายความว่า (สํา) ว. กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย หรือทำตัวอวดฉลาดอาจจะต้องพบเจอกับอันตราย สำนวนนี่มักใช้เปรียบเปรยกับคนที่มีความกล้ามาก พร้อมที่จะชนกับทุกสิ่งที่เข้ามาขวางหน้า และแน่นอนว่าจะต้องมีสักครั้งที่เพลี่ยงพล้ำจนตัวเองได้รับอันตราย เปรียบเทียบกับมีดพร้า ดังนั้นเราควรที่จะทำตัวให้พอดี ไม่ตึง หรือหย่อนมากจนเกินไป อาจจะเป็นภัยกับตัวเองเข้าสักวัน ควรที่จะยึดหลักทางสายกลาง ประณีประนอมเป็นที่ตั้ง จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกล้านักมักบิ่น
- สมศรีได้เตือนฉัตรชัยว่าเป็นเป็นคนกล้าได้มักบิ่น มักชอบลงทุนอะไรเสี่ยงๆ จนมาวันหนึ่งฉัตรชัยเจ๊งจากการลงทุน เขาเสียใจมากกับการกระทำของเขาเอง
- เด็กชายสอมีนิสัยกล้าได้มักบิ่น ชอบขับรถเร็วเกินเหตุ พ่อแม่หวั่นกลัวลูกจะเกิดอุบัติเหตุในสักวัน จึงเตือนและต่อว่าเด็กชายสอยกใหญ่
- นิสัยกล้านักมักบิ่น ทำให้คนประมาทไม่คิดหน้าคิดหลัง สุดท้ายก็ต้องเห็นจุดจบของตนเองอย่างน่าเศร้า
- แต่ก่อนผมเป็นคนที่มีนิสัยไม่เกรงกลัวใดๆ มั่นใจในตัวเองสูงมากเกินไป จนมาวันหนึ่งผมก็ล้มลง ผมสูญเสียสิ่งที่ผมมีเกือบทุกอย่าง แต่ยังโชคดีที่ยังมีภรรยาและลูกๆ อยู่เคียงข้างเสมอมา ผมจะสู้ใหม่ และจะเลิกเป็นคนกล้านักมักบิ่น
- ผู้ใดมีนิสัยกล้านักมักบิ่น ยิ่งต้องระวังการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก คนพวกนี้จะมีนิสัยมั่นใจในตัวเอง กล้าได้กล้าเสียกับทุกเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งไม่ดีเลยที่จะดำเนินชีวิตด้วยความเสี่ยงแบบนี้ ขอให้คิดได้ก่อนทุกอย่างจะพัง