สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฝ. ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงนิสัยใจคอแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความต้องการสิ่งต่างๆ คนที่ไม่ต้องการให้ฝนตก เมื่อฝนตกลงมาทำให้เกิดความเสียหายก็แช่งก็บ่นฝนที่ตก ส่วนคนที่อยากให้ฝนตก อย่างเช่น ชาวสวน ชาวไร่ ฝนก็ไม่ตกลงมาให้ พวกเขาต่างก็ด่าว่าฝนต่างๆ นานา เพราะมนุษย์มีจิตใจแตกต่างกัน
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทําอะไรๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
- มนุษย์ต่างจิตต่างใจ และมีความต้องการแตกต่างกัน บางต้องการน้ำก็อยากให้ฝนตก ที่ไม่ต้องการน้ำก็ไม่อยากให้ฝนตก เป็นเทวดาที่จะบันดาลให้มีฝนมันช่างลำบากใจ เพราะฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
- เธออย่าไปสนใจเลยเธอทำเต็มที่แล้ว คนเราฝนตกก็แช่งฝนแล้งก็ด่า ไม่มีใครสามารถทำอะไรให้ถูกใจทุกคนได้หรอก
- ทำไอะไรถูกใจคนทุกคนไม่ได้หรอก เมื่อคนเป็นสิ่งที่เข้าใจยากที่สุด ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า คนหนึ่งได้ คนหนึ่งเสียเสมอ
- เขาทำให้ชื่อเสียงของบริษัทเสียหายจึงรับผิดชอบด้วยการลาออก แต่คนเราฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า พอลาออกก็บอกว่าหนีปัญหา พออยู่ในตำแหน่งก็ให้แสดงความรับผิดชอบ
- คิดจะทำธุรกิจต้องกล้าบริหารคน เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่ยากที่สุดในการทำ มากคนมากความ ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า ต้องบริหารและคุมให้ดี