สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ม. มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยมีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
ที่มาของสำนวน มาจากบทกลอนของสุนทรภู่ “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาทอย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจงอย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน” ในบทกลอนนี้มาจาก “สุภาษิตสอนหญิง” ในสำนวนนี้พูดถึงเงินน้อยๆ เมื่อเก็บหอมรอมริบด้วยเงินน้อยๆ นี่แหละ จะทำให้เป็นเงินก่อนใหญ่ได้
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การรู้จักเก็บหอมรอมริบ ค่อยเก็บสะสมเงินที่ละเล็กทีละน้อย เผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
โบราณท่านใช้เพื่อสอนให้เรามีความมัธยัสถ์ รู้จักอดออม ค่อยๆ เก็บสะสมเงินทองไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็มีมากไปเอง ให้รู้จักเก็บเงินเก็บทองแบบค่อยเป็นค่อยไป
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตมีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
- สมัยเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่จะสอนเสมอว่า มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ให้รู้จักเก็บออมที่ละเล็กทีละน้อย จนตอนนี้เรียนจบ ก็มีเงินเก็บเป็นหลักหมื่นแล้ว
- การสร้างนิสัยการออมเงินเป็นเรื่องดี ยิ่งจะมีรายได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องออม ต้องเก็บ เพราะหากมีปัญหาการเงินจะลำบาก มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท เก็บเล็ก เก็บน้อยไปเรื่อยๆ สักวันก็จะมีเงินมากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- การรู้จักเก็บหอมรอมริบ ค่อยเก็บสะสมเงินที่ละเล็กทีละน้อย เผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน แต่สำหรับยุคนี้ดูเหมือนว่า แม้การออมโดยหยอดเหรียญลงในกระปุกออมสินจะไม่ลำบาก แต่การจะนำเหรียญที่เก็บออมมาได้รวมกัน เพื่อฝากเงินเข้าบัญชีธนาคาร อาจกลายเป็นว่า ลำบากกว่าที่คิด
- เจ้าศักดิ์มันเก่งวะ ซื้อรถใหม่โดยไม่เป็นหนี้เลย มันบอกฉันว่าเก็บเงินเรื่อยๆ มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท เดี๋ยวก็ครบ
- สมชายศึกษาการลงทุนหุ้น และลงทุนในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจเท่านั้น ต้นทุนเขาไม่สูง ค่อยๆ ออมหุ้นจากพอร์ตเล็กๆ สู่พอร์ตหลายร้อยล้านภายใน 10 กว่าปี นี่แหละมีสลึกถึงบรรจบให้ครบบาทในรูปแบบของหุ้น
- อยากได้อะไรก็ค่อยๆ เก็บเงินเอานะลูก มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าไปเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น