สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ
ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกลับหน้ามือเป็นหลังมือ
ที่มาของสำนวนคือ อากัปกิริยาที่พลิกหน้าเป็นหลัง หรือ ที่เราเรียกกันว่ากลับ ด้านที่เป็นฝ่ามือ ด้านที่มีลายมือ หรือที่เราเรียกกันว่าหน้ามือ คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำหรือ ที่เราเรียกกันว่าเป็นส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามกับฝ่ามือ หรืออยู่ตรงกันข้ามกับหน้ามือ หรือที่เราเรียกกันว่าหลังมือนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้ามกับสิ่งเดิมๆ นั่นเอง หน้ามือ คือด้านที่เป็นฝ่ามือ ด้านที่มีลายมือ ส่วนหลังมือคือส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามกับฝ่ามือ หรืออยู่ตรงกันข้ามกับด้านที่มีลายมือ สรุปแล้วกลับหน้ามือเป็นหลังมือก็คือการเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามนั่นเอง จึงนำมาอุปมาอุปไมย หมายถึง เปลี่ยนแปลง หรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงอย่างสุดโต่งจากสิ่งที่เคยประพฤติปฏิบัติอยู่เดิมๆ ไปในทางตรงกันข้ามอย่างแท้จริง อุปมาเสมือนดั่งว่า กลับหน้ามือเป็นหลังมือหรือ พลิกหน้ามือเป็นหลังมือนั่นเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกลับหน้ามือเป็นหลังมือ
- เด็กชายวิวัฒน์เป็นเด็กเกเร และประพฤติตนมั่วสุมเสพยาเสพติด จนถูกจับไปเข้าค่ายบำบัด เมื่อออกมาแล้วเขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลับหน้ามือเป็นหลังมือ กลายเป็นเด็กที่ประพฤติตนดี เอาใจใส่การเรียน ไม่ไปมั่วสุมกับใคร ทำให้พ่อแม่สบายใจมาก
- นายสุขดีเป็นนักธุรกิจที่มีเงินมากมาย ทำธุรกิจหลายแห่ง อยู่มาวันหนึ่งชีวิตพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากพิษเศรษฐกิจ และเจ้าตัวติดพนันอย่างหนัก ทำให้ชีวิตนายสุขดีตกต่ำลงมาก น่าเศร้าใจแทนจากเคยมั่งมี มาวันนี้แทบไม่มีเหลือ
- คนบางคนหลังจากมีชีวิตที่สบายสร้างตนเองได้แล้ว ก็กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หยิ่งผยอง จองหองกับคนรัก ครอบครัว ถ้าวันใดไม่มีแล้วล่ะก็… ระวังจะไม่เหลือใคร
- สุพิศถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง ทำให้ชีวิตของสุพัศพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย
- ไม่ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรขอให้ใช้ชีวิตของเราอย่างดีที่สุด ไม่ว่าจะเหนื่อยลำบากแค่ไหน หรือชีวิตดีแค่ไหน ชีวิตคนเรากลับหน้ามือเป็นหลังมือได้เสมอ สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือคนเราอย่าประมาทกับชีวิต